วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คาถาหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร (อดีตเสือดำ)

คาถาหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร (อดีตเสือดำ)
คาถามหาจินดามนต์ ค้าขายรุ่งเรือง
ปัญฺจะโมนิยา สุวะนัง วิถี โยสุวะโน ชาโต ธรรมมา จัตตังวา บุปผัง วาทังวา ราชะกุมาโรวา ราชากุมารีวา บัณฑิตโตวา บัณฑิตโจวา อิทธิโยวา ปิโสวาทา สะ ตาสีตาสัง พรมฺมณีวา พรมํมณีวา
สะมะเนโรวา ณ ราจุมา เอหิ เอหิ มานิ มามา ณ อะอุเมตตา จะ มหาเสนา ณ อะอุเมตตา จะ มหาชะนา ณ อะอุเมตตา จะ มหาราชา ณ อะอุเมตตา จะ มหาราชินี วาสัพพะ สเหน่หา จะ ปุชิตา สัพพะ ตุนา เมตตา จิตติ จิตตัง ภะวัน ตุตะระเตหิ จิตตัง มณีมา ปวงประชา เห็นหน้าข้าพเจ้า เมตตา จิตตัง มนุษย์ตัง หิยัง คะติตัง ภะเวราชา สัพเพ ชะนาพะหู ชะนา ตะเปติสา ตะมาคะตา การะโภชนา วิ การะโภชนา เอหิ มะมา เอหิ อิถถี เอหิ สะมาพรมฺมา อาภะ ลาภา เอหิ เอหิ เอหิ อิยังมามะ เอหิ

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คาถาเมตตามหาเสน่ห์ เป็นพระคาถาของ(หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า)

คาถาเมตตามหาเสน่ห์ เป็นพระคาถาของ(หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) 

                     คาถาบทนี้เป็น คาถาเมตตามหาเสน่ห์ ที่ท่องบ่อยๆแล้วทำให้เป็นที่เมตตาและมีมหาเสน่ห์ต่อผู้คนทั้งหลาย(คาถามหาเสน่ห์ พระคาถามหาเสน่ห์ คาถาเมตตามหานิยม): คาถา พระคาถาต่างๆ พระคาถาเมตตามหานิยม หลวงพ่อเสือดำ
ตั้งนะโม3จบ แล้วตั้งใจภาวนา คาถาเมตตามหาเสน่ห์ ของ(หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) ดังนี้
ถอดความโดย ว.วิสุทธิสารี
อักโขหะมัสสะมิ โลกัสสะ
อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา
อิติโพธิ์มะนุปัตโต อิติปิโสจะเต
นโม อะระหังลาโภ พุทโธ ลาภัง นาชาลิติ
นะมะพะทะ สัพเพชะนา พหูชะนา ราชาปุริโส อิตถิโยมาพัง
เอหิจิตตังปิยังมะมะ เอหิมาเรโสมามา อาคัจฉายะ อาคัจฉาหิ
คำแปล พระคาถาเมตตามหาเสน่ห์ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ขออำนาจพระพุทธพจน์ว่า เราจะเป็นเลิศในโลกนี้
ขออำนาจแห่งบารมี 30 ทัศ ขออำนาจแห่งพระสัพพัญญู
ขออำนาจแห่งโพธิญาณ ด้วยอำนาจแห่งคำขอทั้งหมดนี้
ขอพระอรหันต์ จงดลบันดาลลาภให้เรา ขอพระพุทธเจ้า จงดลบันดาลลาภให้เรา
ขอพระอรหันต์ จงดลบันดาลลาภให้เรา ขอพระพุทธเจ้า จงดลบันดาลลาภให้เรา

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อธิบาย บารมี 30 ทัศ

อธิบาย บารมี 30 ทัศ

                  การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)
๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)
๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)
๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)
๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)
๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)
๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)
๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)
๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช
๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔) หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บาร